ควบคุมหญ้า

เพิ่มรอยหยักในสมอง ตอนที่ 171 (Finale) กำจัดวัชพืช แบบไบโอชีวภาพ หลังจากกระทรวงเกษตรฯ เป็นห่วงใยว่าเกษตรกร ชาวสวน สนามกอล์ฟ สวนสาธารณะ จะไม่มียาฆ่าหญ้า พาราควอต และไกลโฟเสท ในการกำจัดหญ้า ส่วนสุขภาพของคนใช้ คนกิน และคนในสนามกอล์ฟ สวนสาธารณะ ไม่ต้องห่วงใย เพราะคนไทยแข็งแรงดื้อต่อสารเคมี ไม่มีสารเคมีใดๆ ทำร้ายคนไทยได้ ตามที่ อ.เดชา โพสต์ การใช้ผงแคลเซียมคาร์บอเนตกำจัดหญ้า ได้ผลดีไหม คำตอบคือ ได้ผลสำเร็จ ที่ 92.28 % (ทำไมต้องตัวเลขนี้) มีงานทดลองใช้ สารเคลือบใบมะม่วง โดยใช้ แคลเซียมคาร์บอเนต และโดโลไมต์ พบสามารถกันการสังเคราะห์แสงได้ 92.28 และ 86.78 % ตามลำดับ โดยใช้ความเข้มข้นที่ 70 กรัมต่อลิตรขึ้นไป ( 1.4 ขีด ต่อ 20 ลิตร) หากใช้มากกว่านี้ จะได้ผลดีมากขึ้น ผสมมากไปคงสิ้นเปลือง เช่น ใช้ที่ 2 ขีดต่อน้ำ 20 ลิตร หลักการ คือ เราต้องการใช้สารแขวนตะกอน ไม่ใช่น้ำใสๆ (ต้องมีตะกอนแน่นอน ระวังหัวพ่นตัน) เราต้องใช้เครื่องพ่นอะไร ที่ช่วยกระจายสารแขวนตะกอน ให้เคลือบใบหญ้าอย่างทั่วถึงดี เกลือก็ฆ่าหญ้าได้ ที่เหลือต้องการสารเคลือบใบ(เชื้อขยายกับตำลึง ผลไม้เปรี้ยว) และสารช่วยไม่ให้แคลเซียมคาร์บอเนตตกตะกอนเร็วไป ในงานทดลองใช้โซเดียมซิลิเกต (ผมไม่แนะนำ เพราะอันตรายต่อคน) เราจะใช้สารตัวอื่นทดแทนได้ เช่น โดโลไมต์ ปูนขาว แต่ผลสำเร็จลดลงไปบ้าง แต่แคลเซียมสำหรับพืชถูกที่สุด และได้ผลดีที่สุด ใครคิดวิธี การพ่นให้กระจายเคลือบที่ใบ และผลสำเร็จ ช่วยโพสต์บอกด้วยครับ โพสต์นี้ ตอนที่ 171 คงเป็นตอนสุดท้าย สำหรับเพิ่มรอยหยักในสมอง

ความคิดเห็น